วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่๒
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  21  มิถุนายน  2556
ครั้งที่ 1  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น.

วันนี้หัวข้อที่เรียน คือ ความสำคัญของภาษา โดยมีเนื้อหาดั้งนี้
ความสำคัญของภาษา
           1.ภาษาเป็นเครื่องที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
           2.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
           3.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
           4.ภาษาเป็นเครื่องมือจรรโลงจิตใจ
ทักษะทางภาษา  ประกอบด้วย
           1.การฟัง
           2.การพูด
           3.การอ่าน
           4.การเขียน
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของ Piaget
            การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา  กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการคือ
              1.การดูดซึม (Assimilation) เป็นกระบวนการที่เด็กรับรู้ และดูดซึมภาพต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง
              2.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่(Accommodation) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการดูดซึมโดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ
Piaget ได้แบ่งพัฒนาการทางด้านสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา ดังนี้
            1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor) อายุ แรกเกิด-2ปี
            2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preopera tional Stage) อายุ 2-4ปี
            3. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage) อายุ 7-11ปี
            4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage) อายุ 11-15ปี

 พัฒนาการภาษาของเด็ก
            เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้และเข้าใจ เป็นลำดับขั้นตอน ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับหากพบว่าเด็ก ใช้คำศัพท์หรือไวยกรณ์ ไม่ถูกต้อง และควรมองว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาของเด็ก
 จิตวิทยาการเรียนรู้
            1. ความพร้อม       วัย ความสามารถ และประสบการณ์ของเด็ก
            2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล       อิทธิพลทางพันธุกรรม อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
            3. การจำ        การเห็นบ่อยๆ การทบทวนเป็นระยะ การจัดเป็นหมวดหมู่ การใช้คำสัมผัส

            4. การให้แรงเสริม      แรงเสริมทางบวก แรงเสริมทางล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น