วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556



เรียนครั้งที่ 16


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 16 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.12 น. เวลาเข้าเรียน 12.50 น. เวลาเลิกเรียน 16.00 น.

                วันนี้เรียนครั้งสุดท้าย อาจารย์ตรวจตัวปั้มดาว และให้สรุปความรู้ที่ได้รับ







เรียนครั้งที่ 15


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.12 น. เวลาเข้าเรียน 12.50 น. เวลาเลิกเรียน 16.00 น.





   วันนี้ อาจารย์บอกว่า การที่จะเป็นครูต้องเขียนแผนการสอนเป็น วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม ให้ช่วยกันเขียนแผนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งกลุ่มของพวกเราได้ทำแผนการสอนเรื่อง ปลา กลุ่ของหนูทำงานออกมาสวยงามเพราะความร่วมมือกันในกลุ่ม





การนำไปใช้
-เพื่อให้มีประสบการณ์ในการทำสื่อการเรียนการสอน
-เพื่อให้มีความรู้ เเละต่อยอดความคิดเดิม

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 14


บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี. 13/09/56
เรียนครั้งที่ 14 เวลาเรียน 13:10-16:40
เวลาเข้าเรียน 13:00 เวลาเลิกเรียน 16:00


การเรียนวันนี้

    วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม ทำงานการจัดมุมการศึกษาอะไรก็ได้ลงในกระดาษแผ่นใหญ่ที่อาจารย์เตรียมมาให้ กลุ่มของข้าพเจ้าทำ มุมอาเซียน กลุ่มของข้าพเจ้าพากันทำงานอย่างตั้งใจมาก กว่างานจะเสร็จนานมากได้ส่งกลุ่มสุดท้าย ภายในมุมของเราก็จะแบ่งเป็นห้องๆ แต่ละประเทศในแต่ละมุมจะมีหนังสือที่เกี่ยวกับแต่ละประเทศ และก็จะมีสิ่งที่ทำให้ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กมีมากมาย ครู ก็ให้ส่งตัวแทนแต่ล่ะกลุ่มออกมานำเสนองานของกลุ่มตัวเองด้วยนั้นเอง


การนำไปใช้
-ได้ฝึกกการทำงานเป็นทีม
-ได้ช่วยกันทำสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็ก
-มุมประสบการณ์เป็นสื่ออย่างดีสำหรับเด็ก

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน ศุกร์ ที่ 6 เดือน กันยายน พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.


 การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา
-สร้างสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กให้คุ้นเคยและควรใช้แบบองค์รวม
-เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษามากเกินไป

             หลักการ
-สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก เหมาะกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง เด็กจะได้    ซึมซับผ่านการเล่นผ่านความสนุกสนาน เด็กต้องใช้การสังเกต ตั้งสมมุติฐาน ให้เด็กเกิดความสงสัย
-ต้องจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ครู โดยการทำงานเป็นกลุ่ม เด็กควรได้        สื่อสารทั้ง 2 ด้าน ทั้ง ถามและตอบ
-สิ่งแวดล้อมเราควรเน้นเด็กให้มีความหมาย เด็กต้องรู้ว่ามุมๆนั้นคืออะไร และควรยอมรับการสื่อสาร    ของเด็ก เพราะเด็กอาจสื่อสารผิดๆ
-สิ่งแวดล้อมรอบห้องไม่ควรจำกัดแค่คำพูด แต่เราควรคำนึงถึงอย่างอื่นด้วย เช่น การเล่น การแสดง        บทบาทสมมุติ หรือการจัดที่หลากหลาย (หน้าที่ของครู คือ คอยส่งเสริมหลายรูปแบบ)

          มุมประสบการณ์ทางการเรียนรู้  สาระทางภาษา
-มุมหนังสือ ควรมีชั้นวางที่เหมาะสมกับวัย บรรยากาศเงียบสงบ มีพื้นทีทั้งแบบตามลำพังและแบบกลุ่ม   มีอุปกรณ์ครบ เช่นอุปกรณ์การเขียน
-มุมบทบาทสมมุติ ควรมีสื่อที่สามารถให้เด็กเข้าเล่นได้ มีพื้นที่เพียงพอ
-มุมศิลปะ ควรจัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น ดินสอ สี ยางลบ กระดาษ เพื่อให้เด็กสร้างงานจาก    จินตนาการของเขา
-มุมดนตรี มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของจริงและของเล่น เช่น ขลุ่ย ฉิ่ง กรับ เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้    ภาษาจากเสียงของดนตรี

     ลักษณะการจัดมุมในห้องเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา
-มีพื้นที่ให้เด็กทำกิจกรรมได้อย่างสะดวก
-ทำให้เด็กเกิดความผ่อนคลายเมื่อเข้าไปเล่น
-บริเวณใกล้ๆควรมีอุปกรณ์ให้เด็กในการออกแบบ
-เด็กต้องมีส่วนร่วมและวางแผนในการจัดมุมนั้นด้วย


กิจกรรมสุดท้าย อาจารย์ให้คัด ก- ฮ 



วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 12


                                                                           บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี. 30/08/56
เรียนครั้งที่ 12 เวลาเรียน 13:10-16:40
เวลาเข้าเรียน 13:00 เวลาเลิกเรียน 16:00


วันนี้อาจารย์ให้ทำสื่อโดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้ออกแบบสื่อที่พัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย เมื่อออกแบบเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสื่อของตัวเองว่าสื่อที่เราออกแบบชื่อสือว่าอะไร มีวิธีเล่นอย่างไร และประโยชน์ของสื่อ กลุ่มของดิฉันเองได้ทำสื่อที่มีชื่อว่า ทายซิ บ้านฉันอยู่ไหน วิธีการเล่น คือ ให้เด็กทายว่าสัตว์แต่ละตัวอาศัยอยู่ไหนแล้วให้เด็กนำภาพสัตว์ตัวนั้นไปวางไว้ในสถานที่ ที่สัตว์ตัวนั้นอาศัยอยู่ มีสัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ


เกม.....ทายซิบ้านฉันอยู่ไหน




   

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่11


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  23 สิงหาคม 2556
เรียนครั้งที่11 เวลาเรียน 13:10-16:40
เวลาเข้าเรียน 13:00 เวลาเลิกเรียน 15:00


                                     เรื่อง สื่อการเรียนรู้ทางภาษา
          
           1. วัสดุ อุปกรณ์ หรือ วิธีการต่างๆ
           2. เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม จูงใจ ให้เด็กเกิดความสนใจ
           3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การเรียนรู้ทางภาษา
           4. เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเนื้อหา นั้นเอง


                                   ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
        
        - เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
        - เข้าใจได้ง่าย
        - เป็นรูปธรรม
        - จำได้ง่ายๆ เร็ว และ นาน

              
                                ประเภทของสื่อ
     
     1. สื่อสิ่งพิมพ์
         - สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์
         - เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยค
         - หนังสือนิทาน หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร แบบฝึกหัด พจนานุกรม
     2. สื่อวัสดุอุปกรณ์
         - สิ่งของต่างๆ
         - ของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ แผนภูมิ ตาราง สถิติ กราฟ สมุดภาพ หุ่นมือ
    3. สื่อโสตทัศนูปกรณ์
        - สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ
        - คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น
    4. สื่อกิจกรรม
       - วิธีการที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ ทักษะ
       - ใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์
       - เกม เพลง การสาธิต สถานการณ์จำลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงาน ทัศนศึกษา
   5. สื่อบริบท
      - สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
      - สภาพแวดล้อม
      - ห้องเรียน บุคคล ชุมชน วัฒนธรรม

       หลังจากที่สอนเสร็จ อาจารย์ก็ให้ทำกิจกรรม โดยแจกกระดาษและสีให้นักศึกษา ให้วาดรูปอะไรก็ได้พร้อมระบายสีให้สวยงาม ตามด้วยเขียนใต้ภาพเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ


วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556



เรียนครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.




เวลาเข้าสอน 13.00 น. เวลาเข้าเรียน 12.50 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.


การเรียนในวันนี้ คุณครูให้นักศึกษา ทำสื่อสำหรับเด็กเกี่ยวกับ 10 ประเทศอาเซี่ยน โดยแบ่งนักศึกษาเป็น 4 กลุ่ม ซึ่งกลุ่มของดิฉัน ทำสื่อเป็นธง ชักขึ้นชักลงกลุ่มของดิฉัน ทำสื่อเป็นธง ชักขึ้นชักลง

                                  


ความรู้ที่ได้รับ
1.รู้จักการแบ่งงาน และทำงานตามหน้าที่ของตนเองตามที่ได้รับมอบหมายจนบรรลุเป้าหมาย
2.ได้มีความคิดสร้างสรรค์ในนการสร้างงาน
3.รู้จักขั้นตอนและวิธีการทำหุ่นนิ้วมือ
4.ได้มีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน
5.ได้ช่วยเหลือเพื่อนในการทำงานภายในกลุ่ม
6.ได้รู้จักเพื่อนมากขึ้น ได้รู้จักคำว่าสามัคคี

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 9  
บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
 วันศุกร์ ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556 
เวลาเรียน 13.10-16.40 น. เวลาเข้าสอน 13.00 น.


 กิจกรรมในวันนี้ 

อาจารย์ให้นักศึกษาทั้งห้องร่วมกันทำBigbookซึ่งเพื่อนทั้งห้องได้ร่วมแสดง คิดเห็นและช่วยกันแต่งนิทานเรื่องหนึ่ง และนำมาทำเป็นหนังสือนิทานขนาดใหญ่ เพื่อจะได้นำไปจัดกิจกรรมให้แก่เด็กได้และนิทานที่เพื่อนช่วยกันแต่ ก็ได้ให้ประโยชน์กับดิฉันหลายอย่าง วันนี้เพื่อนๆช่วยกันแต่งนิทานเรื่องหนึ่งซึ่งมีกระต่ายเป็นตัวเอก

 เนื้อเรื่องที่ช่วยกันแต่ง คือ บทเรียนของ กระต่ายน้อย

มีครอบครัวกระต่ายอยู่ครอบครัวหนึ่ง สร้างบ้านอยู่ในทุ่งหญ้าสีเขียว ครอบครัวกระต่ายประกอบด้วย พ่อ แม่ และลูกกระต่าย สองตัว และลูกกระต่ายชอบแย่งแครอทกัน น้องชอบแย่งแครอทพี่และฝ่ายพี่ก็ยอมเสียสละให้น้องเสมอ เพราะเชื่อฟังที่พ่อแม่สอน แต่กระต่ายตัวน้องก็เอาแต่ใจเกินไป ต้องให้พี่ยอมน้องทุกเรื่อง แต่แล้ววันหนึ่งมีกระรอกตัวหนึ่งมาแย่งแครอทของน้องกระต่ายไป น้องเลยได้แต่นั่งร้องไห้ พอพี่กระต่ายเห็นเลยนำแครอทของตนมาให้กับน้องกระต่าย น้องกระต่ายจึงเกิดความสงสัยว่าทำไมพี่ถึงเอาแครอทมาให้ และพี่ก็บอกว่า "เราเป็นพี่น้องกันก็ต้องแบ่งปันกัน" น้องกระต่ายได้ฟังคำที่พี่กระต่ายพูด เลยได้ตัดสิ้นใจหักแครอทแบ่งกับพี่คนละครึ่ง หลังจากนั้นน้องกระต่ายก็ไม่เอาแต่ใจอีกเลย
                               

การนำไปใช้
-สามารถนำความรู้ที่ได้นี้ ไปใช้กับเด็กได้ โดยการขอความร่วมมือกับเด็ก ให้เด็กได้แสดงความสามารถของคน
 -ได้ฝึกทักษะ การทำงานเป็นทีม และสามารถนำไปพัฒนากับเด็กได้
-ได้มีทักษะการสังเกตการทำงานเป็นกลุ่ม และสามารถนำไปสังเกตเด็กได้
 -ได้ฝึกทักษะการพูด และความกล้าแสดงออก

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 8


  บันทึกอนุทิน

   วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน


      วัน ศุกร์ ที่ 2 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2556


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นช่วงของเวลาการสอบกลางภาคของ

ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


เรียนครั้งที่
                                                                                              บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 24 กรกฎาคม .2556
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 13.10-16.40 .
เวลาเข้าสอน 13.10 . เวลาเข้าเรียน 13.06 . เวลาเลิกเรียน 14.40 .

ความรู้ที่ได้รับจากวันนี้
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาวาดรูปตามความสนใจของตนเอง
เมื่อวาดภาพเสร็จก็ให้นักศึกษานำภาพของตนเองมาหน้าห้องแล้วเล่าเป็นนิทาน
เมื่อเพื่อนคนที่ 1 เล่าเสร็จ ให้เพื่อนคนต่อไปนำภาพของตนเองมาประกอบต่อ
แล้วเล่านิทานต่อจากเพื่อนคนแรก โดยให้เนื้อเรื่องของเพื่อนทุกคนครบถ้วน
และมีเนื้อหาที่คล้องจองกันทุกคน จนจบคนสุดท้าย
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
-การเล่านิทานเป็นการส่งเสริมพัฒนาการ
-การสังเกตการเล่านิทานของเพื่อนเป็นการฝึกทักษะ
-การสื่อสารของเพื่อนสามารถนำมาประกอบเป็นนิทานได้

การประเมิน
1.ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย
2. เน้นที่ความก้วหน้าของเด็ก
    -บันทึกสิ่งที่เด็กทำ
    -ทำให้สามารถส่งเสริมเด็กให้ก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้นได้
3.ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
4.ให้เด็กได้มีโอกาศประเมินตนเอง
5.ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
6.ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา
-การเขียนตามคำบอกของเด็ก
-ช่วยเด็กเขียนบันทึก
-อ่านนิทานร่วมกัน
-เขียนประกาศเพื่อแจ้งข่าว  เตือนความจำ
-อ่านคำค้องจอง
-ร้องเพลง
-เล่าสู่กันฟัง
-เขียนส่งสารถึงกัน
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- ควรประเมินผลงานของเด็กทุกขั้นตอนการทำงาน
- การประเมินเด็กควรถามเด็กว่า ผลงานที่ออกมานั้นคืออะไร ก่อนที่ครูจะประเมินเด็ก
-ในการประเมินเด็กครูควรบันทึกพฤติกรรมของเด็กด้วย
- ควรให้ความสำคัญต่อการประเมินผลงานเด็กด้วย


วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 6
                                                              บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.06 น. เวลาเลิกเรียน 14.40 น.


ความรู้ที่ได้รับจากวันนี้
แนวทางการจักประสบการณ์ทางภาษา
ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
1. การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา
 Skill Approch
- ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
- การประสมคำ
- ความหมายของคำ
- นำมาประกอบเป็นประโยค
- การแจกรูปสะกดคำ การเขียน
- ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ
- ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
Keneth Goodman
- เสนอแนวทางการสอนแบบธรรมชาติ
- มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
- แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
- สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
- ช่างสงสัย ช่างซักถาม
- มีคามคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
- ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- เลียนแบบคนรอบข้าง
2. การสอนภาษแบบธรรมชาติ
Whole Language
ทฤษฎีมีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
 Dewey / Piaget / Vygotsky / Haliday
- เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์และการลงมือกระทำ
- การเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเอง และการได้สัมผัสจับ้องกับสิ่งต่างๆ แล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง
- อิทธิพลองสังคมและบุคคลอื่นๆ ที่มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
การสอนภาษาแบบธรรมชาติ
- สอนบูรณาการ / องค์รวม
- สอนในสิ่งที่เด็กสนใจ และมีความหมายสำหรับเด็ก
- สอนสิ่งที่ใกล้ตัวเองและอยู่ในชีวิตประจำวัน
- สอนแทรกการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม
- ไม่เข้มงวดกับการท่อง สะกด
-ไม่บังคบให้เด็กเขียน
หลักของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
นฤมน เนียมหอม (2540)
1. การจัดสภาพแวดล้อม
- ตัวหนังสือที่ปรากฎในห้องเรียนต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
- หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว
- เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม
2. การสื่อสารที่มีความหมาย
- เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
- เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
- เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส
3. การเป็นแบบอย่าง
- ครูอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้เด็กเห็น
- ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก
4. การตั้งความคาดหวัง
- ครูเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและเขียน
- เด็กสามารถอ่าน เขียน ได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
5. การคาดคะเน
- เด็กมีโอกาสในการทดลองภาษา
- เด็กได้คาดเดา หรือคาดคะเนเรื่องที่อ่าน
- ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมอนผู้ใหญ่
6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
- ตอบนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก
- ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
- ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์
7. การยอมรับนับถือ
- เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
- เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
- ในช่วงเวลาเดียวกันไม่จำเป็นต้องกระทำสิ่งเดียวกัน
- ไม่ทำกิจกรรมตามจังหวะขั้นตอน
8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
- ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยเมื่อใช้ภาษา
- ครูจะต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ
- ไม่ตราหน้าเด็กว่าไม่มีความสารถ
- มีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถ
บทบาทครู (นิรมล ช่างวัฒนชัย 2541)
- ครูคาดหวังเด็กแต่คนแตกต่างกัน
- ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่านการเขียน
- ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก
- ครูสร้างความสนใจ ในคำและสิ่งพิมพ์
การนำไปใช้
- การที่เด็กจะสื่อสารนั้นต้องมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
- ควรเชื่อมั่นว่าเด็กสามารถอ่าน เขียนได้
- เด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ในการแสดงพฤติกรรมทางการใช้ภาษา
- เด็กจะมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการแตกต่างกัน
-ไม่ควรบังคับเด็ก